วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารอีสาน !! ...สุดเลิศล้ำ


                               ตำจั๊กจั่น (ตำป่นจั๊กจั่น)
              มื้อนี้ฅนภูไทเอาอาหารพื้นบ้านของคนอีสานมาฝากอีกแล้วค่ะ เป็นอาหารที่หากินได้เฉพาะฤดูกาล ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับจั๊กจั่นก่อนค่ะ ว่ามันมีความเป้นมาแบบได่ กว่าไทบ้านเฮาสิไปติดมาป่น

มากินได้ใช้ระยะเวลานานส่ำได๋

ชื่อภาษาไทย : จักจั่น
ชื่อภาษาอีสาน : จักจั่น, เร่อย (เขมร)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cicada
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Meimuna opalifera Walker, Pompania sp.
Order : Homoptera
Family : Cicadidae

ลักษณะทางกายภาพ           
             จักจั่นถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อราว 230-295 ล้านปีก่อน ในยุคไทรแอสสิก (Triassic) นักวิทยาศาสตร์ได้จัดให้จักจั่นเป็นแมลงอยู่ในอันดับ (Order) Homoptera ซึ่งเป็นกลุ่มของแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นอาหาร เช่นเพลี้ยชนิดต่างๆ ครั่ง แมลงหวี่ขาว
             ลักษณะที่เด่นชัดของแมลงในอันดับนี้ก็คือ ปีกคู่หน้ามีลักษณะและขนาดความหนาของเนื้อปีกเท่ากันตลอดทั้งแผ่นปีก ชื่ออันดับที่มาจากลักษณะเด่นที่ว่านี้ คือ homo แปลว่า เหมือนกัน, เท่ากัน ส่วน ptera แปลว่า ปีก ซึ่งจะหนาทึบหรือบางใสก็ได้แล้วแต่ชนิดของแมลง ปีกของจักจั่นจะบางใสเหมือนกันทั้งแผ่นปีก
             จักจั่นเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในบรรดาแมลงอันดับนี้ทั้งหมด คือมีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป จนถึงบางชนิดที่ มีขนาดตัวยาวกว่า 10 เซนติเมตร มีหนวดสั้นๆ (หนวดแบบขน-setaceoux) จนเกือบจะมองไม่เห็นดูคล้ายปุ่มเล็กๆ มากกว่าที่จะเป็นหนวด มีตาเดี่ยวสามตา ส่วนหัว ลำตัว ท้อง จะเชื่อมต่อกลมกลืนเป็นส่วนเดียวกัน ปีกคู่หน้าจะบางใส

วงจรชีวิตของจักจั่น
ช่วงชีวิตของจักจั่นเป็นดังนี้
ไข่ (4 เดือน) - วางไข่ใต้เปลือกไม้
ตัวอ่อน (4-6ปี) - ใช้ชีวิตอยู่ใต้ดิน ดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากไม้เป็นอาหาร
ตัวเต็มวัย (1-2 เดือน) - อาศัยอยู่ตามต้นไม้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เป็นอาหาร
ตัวผู้ทำเสียงได้ดังมาก ประมาณ 200 เดซิเบลตัวเมียไม่สามารถทำเสียงได้


จั๊กจั่นที่หามาได้ ส่วนวิธีการกะต้องใช้ตัง(ยางไม้)ไปติดเอาตามต้นไม้

พอได้จั๊กจั่นมาแล้วเฮากะเด็ดปีกแล้วเอาไปล้างทำความสะอาด ตำจั๊กจั่นต้องใส่บักม่วงน้อยเด้อ จั่งสิเข้ากัน ส่วนบักม่วงอย่างอื่นบ่แนะนำค่ะ

มาเริ่มกันเลย ขั้นตอนแรกเฮากะจัดการตำจักจั่นให้แหลกก่อน แล้วจั่งใส่บักม่วงน้อยลงไปตำให้ละเลียดอีกที


ทีนี้เฮากะมาปรุงกันเลย ใส่พริกป่น ข้าวคั่ว ต้นหอมผักชีผักหอมเป สะระแหน่ น้ำปลาแดกลงไป ตำให้เข้ากัน ปรุงรสตามใจชอบ

ตักใส่ถ้วยเสริฟพร้อมข้าวเหนียวฮ้อน พร้อม ผักกระโดนน้ำ ผักติ้ว

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ผ้าไหมแพรวา

ผ้าไหมแพรวา


photo kalasin 2552


ผ้าไหมแพรวา
         แพรวา หรือ ผ้าแพรวาเป็นผ้าทอมืออันเป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะเช่นเดียวกับผ้าสไบ ที่ใช้กันในหมู่ชาวไทยทั่วไป แต่มีสีสัน ลวดลาย ที่หลากหลายมากมาย และนิยมทอด้วยไหมทั้งผืน นับเป็นผ้าไทยอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้นับความนิยมสูงในหมู่ผู้นิยมผ้าไทยทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ

การทอ
         การทอผ้าแพรว่านั้น มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการทอผ้าจก นั่นคือใช้มือจก ยกเส้นด้ายยืน แล้วสอดด้ายสีไปตามลายผ้าที่ต้องการ ชาวผู้ไทยืนยันว่าการทอแพรวาแบบผู้ไทแท้นั้น จะไม่ใช้อุปกรณ์อื่นช่วย ไม่ว่าจะเป็นเข็ม ไม้ หรือขนเม่น นอกจากนี้ยังให้ด้านหลังของลายอยู่ด้านบนของกี่ (การทอแบบจกหลายแห่งก็ทอแบบนี้) ส่วนกี่ทอผ้าแพรวานั้น เท่าที่สำรวจ พบแต่กี่ขนาดใหญ่ ขณะที่ผ้าจกนั้นมีกี่ (ฟืม) ขนาดแคบพอดีกับหน้ากว้างของผ้า (เดิมนั้นชาวผู้ไทคงมีกี่หน้าแคบสำหรับทอแพรวา หรือทอผ้าอื่นๆ แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏกี่หน้าแคบเลย)

        ลวดลายของแพรวามีลักษณะคล้ายคลึงกับลายขิดอีสานอยู่บ้าง ที่แตกต่างกันก็มี ความหลากหลายของสีสันในแต่ละลวดลายนั้นน้อยกว่าผ้าจกของชาวไทยพวนหรือไทยยวน แต่มีลักษณะรวมกันคือลายหลักมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมแปียกปูน (อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า)

        ลวดลายของแพรวานั้นมีความหลากหลายพอๆ กับลายผ้าแบบอื่น ขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์ของช่างทอนั่นเอง ลานหลักๆ ก็เช่น ลายนาคสี่แขน ช่อขันหมาก ดาวไต่เครือ และมีลายแถบ เช่น ดอกดาวหมู่ ดอกแปดขอ เป็นต้น ในผืนหนึ่งๆ จะลวดลายนับสิบลาย

        การเรียงตัวของลายผ้านั้น เนื่องจากแพรวาใช้พาดในแนวตั้ง ลายผ้าจึงไล่ไปทางแนวตั้ง ขณะที่ผ้าจกลายผ้าจะไล่ไปแนวนอน ตามระดับการมอง

       ผ้าแพรวาของชาวผู้ไทแต่เดิมนั้น มีโทนสีเป็นสีแดงคล้ำ หรือสีปูน เป็นหลัก เท่าที่สำรวจในแหล่งต่างๆ ไม่เคยเห็นผ้าแพรวาที่เก่ามากๆ เกิน 50-60 ปี เข้าใจว่าถูกซื้อไปจนหมด แม้กระทั่งในพิพิธภัณฑ์หลายที่อีสานก็ไม่มี

       ผ้าแพรวาที่ทอในปัจจุบันจึงมีสองลักษณะ คือผ้าหน้าแคบขนาดแพรวาแบบเดิม (ผลิตน้อย) กับขนาดหน้ากว้างประมาณ 1 เมตร สำหรับการตัดเย็บใช้สอยอื่นๆ

การทอในปัจจุบัน
        การทอผ้าแพรวาปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจาก มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้มีการสืบทอดศิลปะการทอผ้าแพรวาแพร่หลายมากขึ้น เป็นที่นิยมมากขึ้น ความต้องการผ้าแพรวามรท้องตลาดจึงมีเพิ่มขึ้น จึงพยายามผลิตผ้าให้ผู้คนได้ซื้อหลากหลายระดับราคา สำหรับราคาที่ต่ำลงมา คือประมาณ 2,500 ? 3,500 บาทต่อผืน (4 หลา) นั้นมักมีลวดลายน้อย สีสันน้อย และยังอาจใช้วิธียกเขา เพื่อความรวดเร็ว แทนที่จะใช้นิ้วยกด้ายสอดเช่นเดิม ความประณีตของลวดลายจึงต้องลดทอนลงไป เนื่องจากการยกเขานั้นเหมือนการทำพิมพ์ ที่จะต้องปรากฏลายซ้ำๆ เป็นช่วงๆ ในรอบหนึ่งๆ ของพิมพ์

        ความสวยงามของผ้านั้นอยู่ที่ความประณีตของการทอ ความสม่ำเสมอของลวดลาย ไม่หลุดตกบกพร่อง หรือขาด หากทอด้วยมือทั้งผืน ความสม่ำเสมอของลวดลายจะน้อยกว่าการใช้เขาเก็บลาย แต่ลวดลายจะมีความอ่อนช้อย แน่น ไม่โปร่ง ด้านหลังของผ้ามีความเป็นระเบียบ ไม่โยงเส้นด้ายยาวเกินไป และใช้สีสันที่หลากหลายกว่า

        ปัจจุบันมีการส่งเสริมการทอผ้าแพรวาในโครงการส่งเสริมศิลปาชีพฯ หลายแห่งในภาคอีสาน โดยใช้เส้นไหมจากโรงงาน ผ้าที่ได้จึงมีความเรียบเนียนเป็นพิเศษ

แหล่งผลิตผ้าแพรวา
         แหล่งผลิตผ้าแพรวาที่สำคัญ คือ ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ นอกจากนั้นยังมีที่ศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขาม จังหวัดสกลนคร และโครงการส่งเสริมศิลปาชีพอื่นๆ ในแถบจังหวัดนครพนม สกลนคร หนองคาย และมุกดาหาร


ผ้าไหมแพรวา

         เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลัษณ์ของชาวบ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผ้าที่ทอด้วยฝีมือที่มีความวิจิตรสวยงาม ของชาวบ้าน ซึ่งเป็นที่นิยมและต้องการของนักท่องเที่ยวหรือสุภาพสตรี คหบดีที่นิยม นำผ้าไหมแพรวาไปตัดเย็บเครื่องแต่งกาย จนกระทั่งผ้าไหมแพรวาได้สร้างชื่อเสียง ให้กับชาวกาฬสินธุ์ เป็นเมืองท่องเที่ยวในด้านสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน ดั่งคำขวัญ ของจังหวัดที่ว่า "กาฬสินธุ์เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา" ด้วยความสำคัญของผ้าไหมจึงถือว่าเป็นศิลปหัตถกรรม เป็นวัฒนธรรม ที่สำคัญ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงประทับพระทัย จึงทรงรับอุปการะ การทอผ้าไหมแพรวาเข้าโครงการมูลนิธิศิลปาชีพ ทรงพัฒนาการทอผ้าไหมแพรวา ไปตัดฉลองพระองค์เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ชาวไทย และชาวต่างประเทศ

        ผ้าแพรวา มักนิยมทอด้วยฝ้าย และด้ายไหม ถ้าทอด้วยด้ายฝ้าย เรียกชื่อว่า ผ้าแพรวา การที่จะทอผ้าแพรวาด้วยด้ายชนิดใด  ขึ้นอยู่กับว่ามีวัสดุอย่างใดอยู่ก่อนแล้วตามปกติไหม เป็นวัสดุที่หายาก ได้มายากและชาวอีสานถือว่า เป็นของพิเศษจะไม่นำมาใช้อย่างพร่ำเพรื่อ หรือจะไม่นำมาใช้ ตกแต่งกาย เมื่อต้องการกระทำกิจธุระธรรมดา เช่น การทำนา ทำสวน หรือการแต่งกายอยู่กับบ้าน คือจะใช้เฉพาะกรณีพิเศษจริงๆ เช่น แต่งกายไปงานบุญ แต่งกายไปงานกินดอง (แต่งงาน) แต่งกายไป ทำธุระกิจต่างบ้าน ฯลฯ เพราะว่าในความรู้สึกแล้ว ชาวอีสานถือว่า "ผ้าไหม" เป็นของมีค่า เป็นความภูมิใจของเจ้าของที่ได้ใช้และ บ่งบอกถึงชาติตระกูล ฐานะเศรษฐกิจ ฯลฯ ของเจ้าของ และที่เป็น เช่นนี้ก็เพราะถึงแม้ชาวอีสานจะเลี้ยงตัวไหม แทบทุกหลังคาเรือน ก็ตาม แต่เป็นการเลี้ยงเพียงพอใช้เล็กๆ น้อยๆ ต่างจากการปลูกฝ้าย ชาวบ้านจะปลูก จำนวนมาก เพราะฝ้ายนำมาทำเส้นใยแล้วทอเป็นผ้า ใช้สวมใส่ทำงานได้ทุกประเภทไม่ว่างงานหลัก คือ ทำไร่ ทำนา หรือการสวมใส่ไปทำบุญ เดินทางไปไหนๆ ก็อาจนุ่งผ้าที่ทอด้วยฝ้ายได้ 

         ในชีวิตความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านอีสานแท้ๆ จะมีความเกี่ยว ข้องผูกพันกันอย่างยิ่งกับ "ผ้าแพรวา" กล่าวคือ อย่างเช่น ผ้าแพรวา อย่างผ้าอีโป้ (ผ้าขะม้า,ผ้าขาวม้า) ชาวอีสานจะนำมาใช้งานได้สารพัด ประโยชน์ ผู้ใช้อีโป้ คือ ชายชาวอีสานเท่านั้น โดยใช้เป็นผ้านุ่ง อยู่กับบ้าน (นุ่งลอยชาย) นุ่งอาบน้ำ นุ่งทำงานออกกำลัง (นุ่งกะเตี่ยว, นุ่งเหน็บเดี่ยว) นุ่งนอน โดยใช้เป็นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าคลุมตัว (แทนเสื้อ) เวลามีแขกมาเยี่ยมบ้าน (กันอุจาดตา เพราะชาวอีสาน เวลาอยู่บ้านไม่นิยมสวมเสื้อ) โดยใช้เป็นของฝากหรือของต้อนรับ เวลามีแขก หรือผู้หลักผู้ใหญ่ต่างบ้านต่างเมืองมาเยี่ยมโดยใช้เป็น ของขะมา (สะมา) โดยใช้เป็นผ้าปูนั่ง ปูนอน โดยใช้เป็นผ้าแขวน เป็นอู่ลูก (เปลนอน) โดยใช้ห่อของ (สะพายของหรือโซนของ) ตลอดจนใช้กั้งแดด (กั้นแดด) หรือใช้เป็นผ้าประดับตกแต่ง (ผ้าปะรำพิธี) ฯลฯ

        ด้วยพระเมตตาบารมีของพระองค์ท่าน ที่นำศิลปหัตถกรรมกาฬสินธุ์ออกเผยแพร่ทำให้ผ้าไหมแแพรวากระเป๋าไม้ไผ่ลายขิตมีชื่อเสียง และเป็นที่นิยมกันทั่วไปช่วยให้พระสกนิกรชาวกาฬสินธุ์มีรายได้เพิ่มขึ้น 

         คำว่า "ผ้าแพรวา" มีความหมายรวมกันได้แก่ "ผ้าทอเป็นผืน มีความยาวขนาด ๑ วา หรือยาว ๑ ช่วงแขน"
จริงๆ แล้ว ในการทอผ้าเพื่อใช้สอยประโยชน์ ชาวอีสาน จะทอให้มีขนาดความยาวติดต่อกันครั้งละหลายๆ วา คือเป็นสิบกว่า วาขึ้นไปที่เรียกว่า ๑ หูก ความยาวที่ทอผ้าแต่ละครั้งจะขึ้นอยู่กับเส้น ด้ายวัสดุที่เป็นเส้นตั้ง หรือยืนที่เรียกว่า "เครือหูก" (เครือหูก) หลักจากนั้นก็จะเอาผ้ามาตัดออกเป็นชิ้นๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปใช้ห่ม เรียกผ้าห่ม ก็จะมีขนาดยาว ๒ วา นำไปใช้เป็น ผ้าอีโป้ (ผ้าขาวม้า) ก็จะมีความยาว ประมาณ ๑ วา กับอีก ๑ ศอก นำไปใช้เป็นผ้าห่มตัว (ห่มเฉียง หรือห่มเบี่ยงบ้าย ห่มเคียนนอก ฯลฯ ก็จะมีความยาวประมาณ ๑ วา ( จึงเรียกว่า ผ้าแพรวา)

         ผ้าแพรวา ที่เป็นผ้าห่มตัว ซึ่งเป็นของใช้สำหรับสตรี ประโยชน์ได้หลายประการ แต่ที่ใช้กันมาก คือใช้ห่มเฉียงไหล่ (เบี่ยงแพร เบี่ยงบ้าย) ใช้รัดหน้าอก หรือเคียนอก หรือตุ้มอก (ตุ้มเอิ๊ก) ใช้ปูกราบพระ ฯลฯ